วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี   5 กรกฎาคม  2556
ครั้งที่4 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30  เวลาเข้าเรียน  08.30


  วันนี้เพื่อนๆออกมาพีเซ็นงานที่ได้รับหมอบหมายจากอาจารย์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ให้แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ5คนแล้วจับแลากว่าแต่ละกลุ่มจะได้หัวข้ออะไรแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


    กลุ่มที่1 เรื่อง การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        เพื่อนๆก็ออกมาให้ความหวายเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยว่า   เด็กปฐมวัยใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเมื่อเขาได้ทำกิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล กระบวนการทางสังคมทำให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความคิดเป็นภาษาพูดและการแสดงผลงานทางความคิดด้วยการวาดภาพ รับรู้และเข้าใจเรื่องต่างๆจากการฟังและการอ่าน เด็กมีความพร้อมและความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาตามระดับพัฒนาการและความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กจะเรียนรู้ภาษาอย่างมีความหมายจากประสบการณ์ตรงและการเลียนแบบ เด็กใช้ภาษาโดยการพูดได้อย่างมหัศจรรย์ เรียนภาษาโดยวิธีธรรมชาติ นอกจากนี้เด็กเรียนรู้ภาษาจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การสนทนา การเล่น ฟังนิทาน ร้องเพลง อ่านหนังสือต่างๆ อธิบายหรือตอบสิ่งที่เด็กพบปะ เด็กเรียนรู้ภาษาจากครอบครัวอย่างเป็นธรรมชาติ มิได้เป็นการจงใจสอนภาษาเป็นทางการ เด็กจะไม่รู้สึกว่าเป็นความยากลำบากที่จะเรียนรู้ภาษา เด็กใช้ภาษาอย่างมีจุดมุ่งหมายเช่นบอกความต้องการ ออกคำสั่ง แสดงอารมณ์ แสวงหาความรู้โดยการถามและนำเสนอด้วยการเล่าเรื่อง เด็กชอบอ่านหนังสือวรรณกรรมเป็นเล่ม ๆ ทั้งเรื่อง ควรมีหนังสือวรรณกรรมเด็กให้สามารถเลือกอ่านได้ และได้อ่านอยู่เสมอ เด็กสามารถคิดแบบการเขียนของตนเองขึ้น ดังนั้นครูปฐมวัยควรบูรณาการการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กให้กลมกลืนไปกับกิจกรรมการเรียนรู้ทุกเรื่อง




กลุ่มที่ 2 เรื่องทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย


การพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย

1.พัฒนาการทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัย
          ในเด็กวัยนี้จะมีความสามารถในด้านการรับรู้ตลอดจนความคิดคำนึงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระยะ
นี้เป็นระยะของการที่เด็กเตรียมตัวเพื่อให้ต่อการการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา  การรับรู้ด้านต่างๆของ
เด็กปฐมวัยได้รับความสนใจและมีการศึกษากันมาก โดยเฉพาะทางด้านการรับรู้ทางสายตาและโดย
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในการรับรู้จะแตกต่างไปกว่าเมื่อตอนเป็นทารก
           เด็กปฐมวัยจะมีพัฒนาการความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างรวดเร็ว จากการศึกษา
ของ  (Welch, 1940 ) พบว่า การพัฒนาของความคิดรวบยอดจะเพิ่มขึ้นตามอายุและช่วงที่ความคิดรวบ
ยอดพัฒนาอย่างรวดเร็วอยู่ในช่วงปฐมวัย  ( เช่น ความสามารถในการแก้ไขปัญหา การสร้างความเข้าใจ
พื้นฐานเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจต่างๆมากยิ่งขึ้น )
         เด็กปฐมวัยจะเป็นระยะของพัฒนาการทางภาษาอย่างรวดเร็วโดยมีการฝึกการใช้ภาษา เช่นการ
พูดคุย เล่านิทาน การทำกิจกรรมต่างๆและการใช้ภาษาในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น พัฒนาการทางด้าน
ความคิดความเข้าใจของเด็กวัยนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมต่อความเข้าใจในสิ่ง
ต่างๆมากยิ่งขึ้น
2. ความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย
          พีอาเจต์ นักจิตวิทยาซึ่งได้ศึกษาในเรื่องพัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจของเด็กเรียก
ระยะเด็กปฐมวัยว่า เป็นระยะของการแก้ไขปัญหาด้วยการรับรู้และยังไม่ใช้เหตุผล จะมีลักษณะพัฒนาการ
ทางด้ายความคิดความเข้าใจที่เป็นลักษณะเฉพาะ
       1.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการสร้างมโนภาพขึ้นในใจ
       2.เด็กปฐมวัยสามารถใช้เหตุผลเบื้องต้นได้
       3.เด็กปฐมวัยจะมีความคิดที่ยึดตนเองเป็นศุนย์กลาง
       4.เด็กปฐมวัยยังไม่สามารถรู้การย้อนทวนกลับของสิ่งของหรือจำนวน
เด็กปฐมวัยยังมีความสามารถทางด้านสติปัญญาด้านอื่นๆที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าวัยทารก เช่น การมี
ช่วงเวลาแห่งความสนใจมากขึ้น ความจำดีขึ้น ความสามรถในการเข้าใจจำนวน การตัดสินใจ การใช้
เหตุผลแต่ในระดับของเด็กปฐมวัยประกอบกับการยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง
  กล่าวคือ การพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ควรมีการเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กและเพิ่มความสามารถขึ้นไปเรื่อยตามความเหมาะสมบนพื้นฐานความสามารถของเด็กปฐมวัย  ^_^



กลุ่มที่3 เรื่องทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาวัย 3-5ปี

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
       
        เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือ
กระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่ง
แวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้ 

1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว

2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด

3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม

4.ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง

5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ 

6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว 



ทฤษฏีพัฒนาทางสติปัญญาของ กาเย่ (Gagne)

    ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) กับทฤษฎีความรู้ (Cognitive Field Theory) มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
          1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เกิดจากความไกล้ชิดของสิ่งเร้าและการกระทำซ้ำผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
         2. การเรียนรู้แบบการตอบสนอง (S-R Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำ หรือฝึกฝน
          3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ (Chaining Learning) คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่นการขับรถ การใช้เครื่องมือ
      4.   การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ (Verbol Association Learning) มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญญลักษณ์แทน
         5. การเรียนรู้แบบการจำแนก (Discrimination Learning) ได้แก่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
         6. การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น เช่นวงกลมประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
         7. การเรียนรู้กฏ (Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
         8. การเรียนรู้แบบปัญหา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักการแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จากลำดับการเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆ จะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ระดับสูง






                                  กลุ่มที่4การพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก 2-4ปี

เพื่อนๆได้แสดงเป็นเหตุการจำลอง





กลุ่มที่5การพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก 4-6 ปี

พัฒนาการทางสติปัญญาและการส่งเสริม
             
                 ความพร้อมของพัฒนาการด้านสติปัญญา ของเด็กวัย 4-5 ปี มีมากขึ้น เมื่อสมองส่วนหน้า 
(Frontal Lobe) พัฒนาและทำงานได้ดีขึ้น เด็กๆ จะสามารถควบคุม ยับยั้งชั่งใจ อธิบายความต้องการ หรือความคับข้องใจของตนเองได้มากขึ้น แล้วความซน ดื้อ และ เจ้าอารมณ์จะค่อยๆ ลดลงไปเอง
เด็กวัยนี้จะมีการมองโลกอย่างหลากหลายมุมมอง (Multicausal thinking) เริ่มเข้าใจเหตุและผลที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งเป็นผล
จากพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยนี้

การส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กวัย 4 - 5 ปี
        •                  ออกกำลังกาย เช่น ปั่นจักรยาน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมอง เมื่อใช้สายตามอง ขาออกแรงปั่น ใช้สมองส่วนควบคุมการทรงตัว ทุกส่วนจึงได้ทำงานประสานกัน และยังนำออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองอีกด้วย
        •                  การเล่นต่อบล็อกหรือชุดตัวต่อเสริมทักษะ เป็นรูปร่างต่างๆ การใช้นิ้วและมือทำให้สมองทำงานต่อเนื่อง และเด็กมีสมาธิดีขึ้นด้วย
        • เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกในเรื่องการอ่าน ชวนกันตั้งคำถามและให้เด็กคิดหาคำตอบ ให้คำชมเมื่อเขา                      แสดงวิธีคิดใหม่ๆฝึกให้เด็กคิดเป็นภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมอง เช่น การบวกเลข จะกระตุ้นสมองซีกซ้ายเพียงอย่างเดียว ควรกระตุ้นสมองซีกขวาให้ทำงานไปพร้อมกัน
        • เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ ดีต่อการเรียนและการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ เพราะจะช่วยเตรียมความพร้อมให้กับทางเดินของประสาทที่ใช้ความคิด จิตใจสงบ กล้ามเนื้อสมองผ่อนคลาย พร้อมสำหรับการเรียนรู้
        • การเรียนหรือการเล่นดนตรี จะช่วยให้การเรียนคณิตศาสตร์ดีตามไปด้วย เพราะดนตรีทำให้เด็กรู้จักตัวเลขจากการนับจังหวะ บวกลบค่าของเวลา เข้าใจเรื่องของสัดส่วน และรู้จักค่าของตัวโน้ตแต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน




กลุ่มที่6เรื่องทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"

ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์

คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "



องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ 
ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
  1. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
  2. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
  3. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด การรับรู้ ความสนใจ และความรู้สึก เป็นต้น
  4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก



กลุ่มที่7เรื่องทฤษฏีพัฒนการทางภาษา


ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
                 
                ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษามีหลายทฤษฎี ดังนี้ (ศรียา  นิยมธรรม และ
ประภัสสร  นิยมธรรม,  2519 : 31-35)

                         1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจ
ที่ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลิน
กับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา

                         2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ
เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมาก เพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการ
ในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็ก
ในระยะเล่นเสียงหรือในระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง

                         3.  ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎี
การเรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง

                         4.  ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง
โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ

                         5.  ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
                         6.  ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการ
เปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ

                         7.  ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก





กลุ่มที่9เรื่ององค์ประกอบด้านภาษา


องค์ประกอบของภาษา ภาษามีองค์ประกอบ ๔ เรื่อง คือ

๑. เสียง เกิดจากการเปล่งเสียงแทนพยางค์ และคำ
๒. พยางค์และคำ เกิดจากการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
๓. ประโยค เกิดจากการนำ คำ มาเรียงกันตามลักษณะ โครงสร้างของภาษาที่กำ หนด
เป็นกฎเกณฑ์หรือเป็นระบบไวยากรณ์ของแต่ละภาษา
๔. ความหมาย คือ ความหมายที่เกิดจากคำหรือประโยคเพื่อใช้ในการสื่อสารทำความเข้าใจกัน
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระโหราธิบดี
ได้แต่งตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก ชื่อ จินดามณี ขึ้น ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยกระทรวงธรรมการได้พิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยย่อจากตำราสยามไวยากรณ์ จนถึง พ.ศ.๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปสารได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์แต่งตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์และเป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น